top of page

ผลลัพธ์ต่อสังคมและ
สิ่งแวดล้อม

​ผลงานของมูลนิธิในการจัดการอาหาร

มูลนิธิ สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์เริ่มดำเนินโครงการจัดการอาหารส่วนเกินในกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จากนั้นได้ขยายโครงการไปที่จังหวัดภูเก็ตในปีถัดมา ในปี 2563  เรายังได้ขยายไปยังจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในอำเภอหัวหิน และปลายปี 2564 นี้เองที่เราได้ขยายขอบเขตการปฏบัติการของราไปยังภาคเหนือสู่จังหวัดเชียงใหม่
หลักการของโครงการต่างๆที่มูลนิธิจัดขึ้นเดินตามความเชื่อมั่นว่าอาหารส่วนเกินสามารถจัดการได้ และเราต้องเพิ่มการเข้าถึงของอาหารที่มีประโยชน์ทางโภชนาการที่จะลดจำนวนขยะอาหาร ในทุกๆวันเราได้รับอาหารส่วนเกินจากผู้ที่มีส่วนร่วมและนำมาชั่งน้ำหนัก แยกประเภท บรรจุในภาชนะที่สะอาดและปลอดภัยก่อนนำส่งชุมชน และนี่คือผลงานที่เราดำเนินการมาตั้งแต่ก่อตั้ง

ตั้งแต่ปี 2559, ข้อมูลเดือน

สิงหาคม 2567

จำนวนอาหารที่ได้ส่งให้ชุมชน
dinner.png

41,

2

9

3,

0

0

0

มื้อ
จำนวนอาหารที่ได้กู้ไปแล้ว
groceries.png

9,

8

3

1,

0

0

กิโลกรัม

0

ส่งต่อความช่วยเหลือให้กับ
starvation.png

3,

7

0+

5

ชุมชน

ตั้งแต่ปี 2559, ข้อมูลเดือน

สิงหาคม 2567

ลด C02e
co2.png

24,

8

7

4

ตัน
การปล่อยก๊าซ C02e จากรถยนต์ลดลง
car.png

2,

9

3

8,

0

0

0

0

1

กิโลเมตร
C02e ลดลงด้วย
ต้นกล้า
sprout.png

4

0,

0

0

0

1

ต้น

ผลต่อสิ่งแวดล้อม

อาหารส่วนเกินทั้งหมดที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง

เมื่อกลายเป็นขยะอาหารจะปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์และมีเทน) ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุณหภูมิของโลกและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ในปี พ.ศ. 2559 ที่มูลนิธิเริ่มปฏิบัติการ เราได้ช่วยลดปริมาณอาหารที่จะถูกนำไปทำลายโดยส่งต่อให้กับชุมชนที่ขาดแคลน ซึ่งเท่ากับการช่วยป้องกันการเกิดก๊าซเรือนกระจก และนี่คือตัวเลข

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการของเรา (โดยใช้หลักพื้นฐานในการคำนวณจาก องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมสหรัฐอเมริกา)

รู้จักกับผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจากพวกเรา

มีชุมชนมากกว่า 500 แห่งที่ได้รับอาหารจากมูลนิธิในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นศูนย์เด็กและเยาวชน ศูนย์เด็กกำพร้า ชุมชนรายได้ต่ำอีกกว่า 80 ชุมชนทั่วกรุงเทพฯและภูเก็ต และกลุ่มคนไร้บ้าน ตั้งแต่ก่อนวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ชุมชนในหลายพื้นที่ของประเทศไทยจัดเป็นชุมชนเปราะบางทั้งต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคม เมื่อพบเจอการระบาดหนัก พวกเขาคือกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากอาศัยอยู่ในบริเวณที่ไม่เอื้ออำนวยสำหรับการออกไปหาอาหาร มีทั้งผู้สูงอายุ เด็กเล็ก กลุ่มแรงงานที่ตกงาน ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ผู้ที่มีเชื้อ HIV โรงพยาบาลสนามและอื่น ๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิ มูลนิธิได้เข้าช่วยเหลือชุมชนรายได้ต่ำไปมากกว่า 500 ชุมชนทั่วประเทศ

​ชุมชนรายได้ต่ำ

สถานที่พักพิงคนไร้บ้าน

สถานที่พักพิงของรัฐ

องค์กรพันธมิตร

โรงพยาบาล

bottom of page